ทดลองสำเร็จเอาชนะดินเค็มอีสาน (ขอเอามาแปะไว้ กลัวลืม)
วันที่ 19 พ.ค. 2552 แนวหน้า ทดลองสำเร็จเอาชนะดินเค็มอีสาน
เพิ่มผลผลิตข้าวเท่าตัวฝีมือพด.
โอ่ทำได้11ล้านไร่เพิ่มแน่3ล.ตัน
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
นาย ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า การดำเนินการทดลองพลิกฟื้นดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มเห็นผลดีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในพื้นที่ดินเค็มน้อย และเค็มปานกลาง ซึ่งมีพื้นที่โดยรวมประมาณ 11 ล้านไร่
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
ทั้งนี้ จากการใช้กระบวนการพัฒนาที่ดินเข้าไปจัดการ ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัวคือเดิมจากไร่ละ 20-30 ถัง เป็น 40-50 ถัง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงสำหรับข้าวนาปีภาคอีสาน ที่เผชิญปัญหาดินเค็ม
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
" ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 20-30 ถัง/ไร่ หรือเพิ่มขึ้นไร่ละ 200-300 กิโลกรัม ลองคิดดูว่าพื้นที่ดินเค็มน้อย และดินเค็มปานกลาง รวม 11 ล้านไร่ ปีหนึ่งจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นถึง 2.2-3.3 ล้านตันเลยทีเดียว"
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
วิธี การแก้ไขปัญหาอาศัยหลักการที่ว่า ถ้ามีน้ำ มีความชื้นในดินจะกดเกลือไม่ให้ขึ้นมาทำอันตรายแก่ต้นพืช กรมพัฒนาที่ดินใช้ปุ๋ยพืชสด แล้วไถกลบ เพื่อให้เป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งจะอุ้มความชื้นได้ดี นอกจากปลูกพืชเศรษฐกิจได้ดีแล้ว ยังเพิ่มผลผลิตไปในตัวด้วย
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
นอกจากนั้นใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้พันธุ์ข้าวทนเค็ม เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และใช้การปลูกโดยการปักดำ และเพิ่มจำนวนต้นข้าวต่อกอมากกว่าปกติ เพื่อให้แตกรวงมากขึ้น
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
นาย ฉลองกล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้เข้าไปพัฒนาที่ดินเค็มผืนใหญ่ 10,000 ไร่ บริเวณเมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทั้งดินเค็มจัด เค็มปานกลาง และเค็มน้อย โดยใช้วิธีการบูรณาการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ เช่น ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ทำคลองระบายน้ำ ทำท่อลอด ปรับพื้นที่ให้ราบ เป็นต้น
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
" วิธีการเหล่านี้จะระบายความเค็มออกไปได้ ส่วนหนึ่งปลูกหญ้าทนเค็มและกระถินออสเตรเลีย โดยปกติพื้นที่เค็มจัดจะเห็นเกลือปรากฏบนหน้าดิน และไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้เลย หลังจากผ่านมา 2-3 ปีขณะนี้สามารถปลูกข้าวได้แล้วประมาณไร่ละ 40 ถัง และกำลังขยายผลมาทำแปลงทดลองอีก 2 แห่งที่ อ.พระยืน จ.ขอนแก่น และ อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา"
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
นาย ฉลองกล่าวอีกว่า เดิมทีเดียวเกษตรกรไม่ให้ความสนใจกับการทดลองของกรมฯ แต่หลังจากสามารถปลูกข้าวได้ในพื้นที่เค็มจัดที่พัฒนาแล้ว ทำให้ชาวบ้านสนใจเข้าร่วมการแก้ปัญหาดินเค็มมากขึ้น โดยกรมทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ความรู้ในการปรับปรุงดินแก่เกษตรกร และแจกเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด
![](http://www.naewna.com/images/space.gif)
พื้นที่ ภาคอีสานเป็นดินเค็มที่มีเกลืออันเนื่องจากอิทธิพลของแหล่งเกลือ ภายใต้แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร แบ่งเป็นดินเค็มจัด 3 แสนไร่ เค็มปานกลาง 3.8 ล้านไร่ และเค็มน้อย 7 ล้านไร่
http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=9592
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น