รถขนส่งคันหนึ่ง ติดอุปกรณ์นำร่อง เพื่อควบคุมความเร็วและควบคุมตำแหน่งไม่ให้ออกนอกทาง การใช้งานดูเหมือนว่าจะดียิ่งสามารถควบคุมรถได้ว่ากำลังเดินทางไปทางไหน ใช้ความเร็วเท่าไร เริ่มและถึงจุดหมายปลายทางเวลาเท่า่ไร ตรวจสอบได้หมดว่าออกนอกลู่นอกทางหรือเปล่า
วันหนึ่งพนักงานได้รับแจ้งจาก เจ้าของบริษัทว่า ตัวเขาเดินทางเกินระยะที่เป็นจริง โดยดูจากข้อมูลในระบบนำร่องดังกล่าว เมื่อเทียบกับเข็มไมล์ในรถแล้ว ปรากฏว่าล่วงเลยไปเป็นร้อยกิโลเมตร พนักงานคนนั้นโดนให้ออกในเวลาต่อมา คำถามก็คือมันยุติธรรมหรือไม่ที่ใช้ข้อมูลจาก gps ในการกำหนดความเป็นความตายของการทำงานของคนๆ หนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ที่เข็มไมล์ที่วัดการหมุนของล้อจะถูต้องมากกว่าเครื่องมือนำร่องที่ติดมากับรถ
GPS เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มันผิดพลาดขนาดนั้นได้จริงหรือ
GPS ใช้สัญญาณจากดาวเทียมในการได้มาซึ่งค่าพิกัดของเครื่องร้บ ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้หลายทาง ขับรถผ่านต้นไม้ที่รกทึกก็มีโอกาสสัญญาณคลาดเคลื่อน ท้องฟ้าปิด การเรียงตัวของดาวเทียมไม่ดี มีบึงน้ำขนาดใหญ่ทำให้สัญญาณสะท้อน มีอาคารหลังใหญ่ทำให้สัญญาณสะท้อนไปมา ดาวเทียม 1 ใน 24 ดวงมีความเสียหาย หรือไม่ได้ปรับแก้เวลาของนาฬิกา atomic บนดาวเทียม ซึ่งเมื่อมีความผิดพลาดก็คำนวณตำแหน่งผิด อย่าว่าแต่รถกำลังวิ่งอยู่การรับสัญญาณแบบเคลื่อนที่ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้
เครื่องมือ hi tech อาจจะอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ แต่ต้องตระหนักถึงความถูกต้อง ความผิดพลาดของเครื่องมือเหล่านี้ด้วย การจะตัดสินว่าผิดถูกควรจะตรวจสอบจากข้อมูลที่หลากหลายกว่านี้
วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554
ความสับสนทางพื้นที่ และจิตใจคน
ขออภัยที่ต้องลบข้อมูลบางส่วนในบทความนี้ เนื่องจากได้มีการนำเอาข้อมูลที่ทำขึ้นมาไปโจมตีกันเองในบล็อคหรือเวบไซต์ ซึ่งไม่ใช่เจตนาของบทความนี้อย่างแน่นอน
ขอบอกอีกครั้งว่าแผนที่ในบทความนี้ทำขึ้นเพื่อให้เห็นความสับสนในทางพื้นที่ ที่จำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ใช่แผนที่ที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซนต์ซึ่งต้องผ่านกระบวนการดำเนินการอย่างละเอียดเป็นขึ้นเป็นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องลงพื้นที่และต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียด รวมไปถึงใช้พื้นหลักฐานที่เป็นฐานเพียงพื้นเดียว ถ้าใช้จากพื้นหลักฐานหนึ่งเป็นอีกพื้นหนึ่งต้องมีการแปลงข้อมูลให้อยู่บนฐานเดียวกันให้เรียบร้อยก่อน
ผมตั้งใจให้ทุกฝ่ายดำเนินการไปด้วยความถูกต้อง มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้จากการคำนวณพื้นหลักฐาน แต่ความเป็นจริงมีอยู่จริงในพื้นที่แล้ว บทความนี้ผมออกจะบ่นๆ ในใจด้วยซ้ำว่ากรมแผนที่ทหารน่าจะเป็นเจ้าภาพเดินสำรวจจริง ใช้แผนที่ปัจจุบัน ระบบพิกัดปัจจุบัน ใช้เครื่องมือระบุพิกัดที่ทันสมัย จึงถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลจริงออกมาให้ชาวบ้าน ชาวไทย+กัมพูชา ได้ทราบกันเสียที.. มันเป็นเรื่องร้อนและส่งผลในระยะยาว.... ถ้าต้องรอคณะกรรมการเขตแดน คงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะพิสูจน์ทราบ... แล้วถ้าถึงวันนั้นพิสูจน์แล้วคนไทยทั้ง 7 เข้าเขตไปจริงก็คงไม่เท่าไร... แต่ถ้าไม่ได้พลัดหลงเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง แล้วการตัดสินเป็นอย่างนี้... ท่านๆ จะบอกกับสังคมได้อย่างไร.. จะดีมั้ยถ้าทางเราจะขอพิสูจน์ความจริงขั้นต้นโดยเร็วด้วยหลักฐานต่างๆ ทางแผนที่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ มนุษยธรรม(การเป็นค่ายผู้อพยพ) เพื่อนำเอาความจริงออกมา...
การใช้แผนที่เป็นเรื่องที่ต้องระวัง... เรามักจะเชื่อสิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ กรณีโนนหมากมุ่นสอนวิชาแผนที่ให้เราหลายบทเรียน ทำให้เข้าใจความสำคัญของแผนที่ในแง่มุมต่างๆ อีกด้วย
ข้อมูลแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบอ้างอิงเดิมมาเป็นระบบใหม่ มีความละเอียดอ่อน เวลาใช้งานไม่สมควรใช้ระบบพิกัดอย่างผสมปนเป ควรยึดพื้นหลักฐานสักอันหนึ่งไว้ แล้วใช้เทคโนโลยีปรับแปลงค่าให้มันถูกต้องตามพื้นหลักฐานดังกล่าว
และที่สำคัญกว่านั้น..ในทางภูมิศาสตร์ มีความจำเป็นมากที่จะต้องลงพื้นที่ไปเห็นของจริง เพราะแม้ว่าแผนที่สามารถคลาดเคลื่อนได้จากการคำนวณและพื้นหลักฐาน แต่ความเป็นจริงยังคงมีอยู่เสมอ.... จะเขตไทยหรือเขมรพิสูจน์ให้ชัดทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ประวัิติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เพื่อความกระจ่างชัด อย่าใช้วิธีปล่อยปละละเลยใช้ข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่ได้รับการพิสูจน์
เราเข้าสู่ยุคต่อเนื่องจาก information age ที่เรียกว่า conceptual age เป็นยุคที่ต้องการแนวความคิด และปัญญาในการกรองข้อมูลที่ทะลักทะล้นมามหาศาล ข้อมูลหลากหลายจนยากที่จะตีความว่าจริงหรือเท็จ การทำสิ่งใดให้กระจ่างเป็นการเริ่มต้นเตรียมคนเข้าสู่ยุคนี้ที่เหมาะสม...
ขอบอกอีกครั้งว่าแผนที่ในบทความนี้ทำขึ้นเพื่อให้เห็นความสับสนในทางพื้นที่ ที่จำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ใช่แผนที่ที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซนต์ซึ่งต้องผ่านกระบวนการดำเนินการอย่างละเอียดเป็นขึ้นเป็นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องลงพื้นที่และต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียด รวมไปถึงใช้พื้นหลักฐานที่เป็นฐานเพียงพื้นเดียว ถ้าใช้จากพื้นหลักฐานหนึ่งเป็นอีกพื้นหนึ่งต้องมีการแปลงข้อมูลให้อยู่บนฐานเดียวกันให้เรียบร้อยก่อน
ผมตั้งใจให้ทุกฝ่ายดำเนินการไปด้วยความถูกต้อง มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้จากการคำนวณพื้นหลักฐาน แต่ความเป็นจริงมีอยู่จริงในพื้นที่แล้ว บทความนี้ผมออกจะบ่นๆ ในใจด้วยซ้ำว่ากรมแผนที่ทหารน่าจะเป็นเจ้าภาพเดินสำรวจจริง ใช้แผนที่ปัจจุบัน ระบบพิกัดปัจจุบัน ใช้เครื่องมือระบุพิกัดที่ทันสมัย จึงถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลจริงออกมาให้ชาวบ้าน ชาวไทย+กัมพูชา ได้ทราบกันเสียที.. มันเป็นเรื่องร้อนและส่งผลในระยะยาว.... ถ้าต้องรอคณะกรรมการเขตแดน คงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะพิสูจน์ทราบ... แล้วถ้าถึงวันนั้นพิสูจน์แล้วคนไทยทั้ง 7 เข้าเขตไปจริงก็คงไม่เท่าไร... แต่ถ้าไม่ได้พลัดหลงเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง แล้วการตัดสินเป็นอย่างนี้... ท่านๆ จะบอกกับสังคมได้อย่างไร.. จะดีมั้ยถ้าทางเราจะขอพิสูจน์ความจริงขั้นต้นโดยเร็วด้วยหลักฐานต่างๆ ทางแผนที่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ มนุษยธรรม(การเป็นค่ายผู้อพยพ) เพื่อนำเอาความจริงออกมา...
การใช้แผนที่เป็นเรื่องที่ต้องระวัง... เรามักจะเชื่อสิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ กรณีโนนหมากมุ่นสอนวิชาแผนที่ให้เราหลายบทเรียน ทำให้เข้าใจความสำคัญของแผนที่ในแง่มุมต่างๆ อีกด้วย
ข้อมูลแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบอ้างอิงเดิมมาเป็นระบบใหม่ มีความละเอียดอ่อน เวลาใช้งานไม่สมควรใช้ระบบพิกัดอย่างผสมปนเป ควรยึดพื้นหลักฐานสักอันหนึ่งไว้ แล้วใช้เทคโนโลยีปรับแปลงค่าให้มันถูกต้องตามพื้นหลักฐานดังกล่าว
และที่สำคัญกว่านั้น..ในทางภูมิศาสตร์ มีความจำเป็นมากที่จะต้องลงพื้นที่ไปเห็นของจริง เพราะแม้ว่าแผนที่สามารถคลาดเคลื่อนได้จากการคำนวณและพื้นหลักฐาน แต่ความเป็นจริงยังคงมีอยู่เสมอ.... จะเขตไทยหรือเขมรพิสูจน์ให้ชัดทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ประวัิติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เพื่อความกระจ่างชัด อย่าใช้วิธีปล่อยปละละเลยใช้ข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่ได้รับการพิสูจน์
เราเข้าสู่ยุคต่อเนื่องจาก information age ที่เรียกว่า conceptual age เป็นยุคที่ต้องการแนวความคิด และปัญญาในการกรองข้อมูลที่ทะลักทะล้นมามหาศาล ข้อมูลหลากหลายจนยากที่จะตีความว่าจริงหรือเท็จ การทำสิ่งใดให้กระจ่างเป็นการเริ่มต้นเตรียมคนเข้าสู่ยุคนี้ที่เหมาะสม...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)