นี่คือไฟล์http://www.michita.com/space/en/columns/morethanmoney/61-2009-01-25-19-35-06?format=pdf
หนทางแห่งความสุข
Thursday, 01 January 2009 00:00
มรรคมีองค์ ๘ หรือทางเดินสู่ความสุขนี้อาจเรียกได้ว่า เป็น
“การดำเนินชีวิตถูกต้อง หรือวิถีชีวิตดีงาม” (พระธรรมปิฎก, ๒๕๔๔: ๒๗๘)
ซึ่งปฏิบัติไปด้วยกันทั้ง ๘ ส่วน มิได้เป็นขั้นตอนแบบกระบวนการทางเดียว
ใช้เหมือนวงล้อซึ่งมีแกนล้อแปดแฉก ใช้ด้วยกันเพื่อนำรถไปสู่จุดหมาย
หรือเหมือนที่พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช เทียบกับแมงมุมหนึ่งตัว มีขาแปดขา
ทางเดินทั้ง ๘ นั้นคือ
๑. เห็นดี (สัมมาทิฏฐิ: Right View)
๒. ตั้งใจดี (สัมมาสังกัปปะ: Right Intention/ Right Thought)
๓. พูดดี (สัมมาวาจา: Right Speech)
๔. ปฏิบัติดี(สัมมากัมมันตะ: Right Action)
๕. เลี้ยงชีพดี (สัมมาอาชีวะ: Right Livelihood)
๖. พยายามดี (สัมมาวายามะ: Right Effort)
๗. สติดี (สัมมาสติ: Right Mindfulness)
๘. สมาธิดี (สัมมาสมาธิ: Right Concentration)
การเห็นดีหรือการเห็นชอบ (Right View) นี้เป็นจุดเริ่มและจุดสุดท้ายของการเดินทาง
นักปฏิบัติทั้งหลายสามารถเริ่มการเดินทางทางธรรม
หรือพัฒนาทางจิตใจจิตวิญญาณจากการเห็นถูกเห็นดีนี้เอง
การเห็นดีและการตั้งใจดีเป็นส่วนของปัญญา (Wisdom)
ซึ่งพัฒนาไปตามระดับการเรียนรู้ของเรา เริ่มตั้งแต่ศรัทธา สนใจที่จะพัฒนาจิตใจ
รู้ว่าการคิดดีพูดดีทำดีเป็นสิ่งที่ดี เป็นหนทางแห่งความสุขที่แท้
รู้จักธรรมชาติของใจกายที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลาจากลักษณะแท้จริง
มิใช่เพียงการคิดคำนึง จะพัฒนาต่อไปอีกเรื่อยๆ เห็นสภาวะทุกอย่างผ่านมาและผ่านไป
ไม่ยึดเข้ามาเป็นทุกข์อีก จนใจมันวางเป็นกลาง ไม่อยากเอาเข้ามาหรือผลักออกไป
เห็นสภาพความเป็นจริงแท้ของสรรพสิ่ง เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ทนอยู่ไม่ได้
ไม่มีตัวตันที่แท้จริง ... จนสุดท้ายไม่เหลือแม้แต่ตัวตนที่รู้ที่ดู
นักปฏิบัติทั้งหลายที่เดินอยู่ในหนทางสู่ความสุข (มรรค ๘)
จะพัฒนาการเห็นดีเห็นชอบนี้ไปสู่คุณภาพใหม่ที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแท้ของธ
รรมชาติมากขึ้น และสุดท้ายนี้เอง การเห็นดีเห็นชอบก็เป็นเป้าหมายของการเดินทาง
เมื่อมีการเห็นดีเห็นชอบประกอบอยู่กับองค์อื่นๆ เปรียบเสมือนเกราะชั้นในของจรวด
ซึ่งปกป้องให้องค์อื่นๆยึดโยงอยู่กันได้ ทั้งการเลี้ยงชีพชอบ การกระทำดี
การพูดดี และการคิดดีของเราแต่ละคน เมื่อเรามีทิฐิที่ถูกที่ดีหรือความเห็นชอบนี้
เราจึงศรัทธาเชื่อมั่นที่จะปฏิบัติดีในวิธีต่างๆ คนที่ไม่มั่นคงในการทำดี
หรือความเห็นชอบในการทำดีไม่มั่นคงพอ
เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องทำให้ตัดสินใจอย่างหมิ่นเหม่
คนเหล่านี้อาจจะสั่นคลอนได้ง่าย เช่น เมื่อมีผลประโยชน์ยั่วยวน
ก็สามารถทำผิดกฎหมายได้ฉ้อโกงได้
หรือยอมทำร้ายผู้อื่นทางกายวาจาได้เมื่อเกิดความโกรธ
การคิดดีหรือการตั้งใจดี (Right Thought or Right Intention) เป็นอีกส่วนของปัญญา
(Wisdom) ซึ่งเกิดมาจากการเห็นดีเห็นชอบ เมื่อเราเห็นว่าการปฏิบัติดี
การพัฒนาจิตใจเราให้ดีขึ้น ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น เรามีทัศนคติที่ดี
คิดในทางที่ดี ซึ่งมีผลทำให้เราพูดออกมาดี ทำในสิ่งที่ดี ไม่ทำร้ายผู้อื่น
ใช้ชีวิตที่ดี อาชีพที่สุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
คนที่คิดดีย่อมมีสุขภาพจิตดี ไม่ค่อยเครียด
ไม่ต้องทุกข์ทรมานจากความร้อนรนในจิตใจ ที่อาจเกิดจากความอยาก ความโกรธ
ความหลงมากเกินไป
การพูดดี การปฏิบัติดี การเลี้ยงชีพดี นี้เป็นชุดของศีลธรรม (Morality) หรือศีล
ซึ่งเป็นเครื่องป้องกันการกระทำผิดต่อผู้อื่น
เมื่อเราทำร้ายหรือกระทำผิดต่อผู้อื่น จะกระทบการดำรงอยู่ในสังคมนั้นๆของเรา
ทำให้เกิดแรงด้านลบเกิดขึ้น เราก็จะต้องรับผลลบจากการกระทำนั้นๆ เช่น
ไปว่าผู้อื่น เขาก็เจ็บแค้น วันหลังก็เอาคืน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
เราจะมีจิตใจที่เป็นสุขได้ยากขึ้น หรือไปฉ้อโกงเงินของประชาชน
ก็จะถูกไล่ตามหาหลักฐานฟ้องศาล ถูกลงโทษวุ่นวาย คนที่เผลอทำร้ายใครไป
แต่อยากกลับเข้าสู่หนทางแห่งความสุข อาจจำเป็นต้องทนรับกับผลกระทบเดิมสักพัก
และสร้างการพูดดี ทำดี เลี้ยงชีพดีเพิ่มไปเรื่อยๆก่อน
เหมือนเติมน้ำบริสุทธิ์ลงในแก้วน้ำหมึก สีน้ำหมึกก็จะค่อยๆจางไปเรื่อยๆ
ตารางเปรียบเทียบมรรคมีองค์ ๘ และกุศลกรรมบท ๑๐
การพูดดีได้แก่ การไม่พูดโกหก ไม่หลอกลวงผู้อื่น ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ
ไม่นินทาผู้อื่น หรือโดยรวมคือไม่พูดจาทำร้ายใคร
หรือทำให้จิตใจเราเขาร้อนรนขึ้นมา การทำดี การใช้ชีวิตดี
เมื่อเทียบกับกุศลกรรมบท ๑๐ ซึ่งเป็นการขยายส่วนศีล ๕ ออกมานั้น ได้แก่
การไม่ฆ่าชีวิตอื่นๆ การลักขโมยฉ้อโกงทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตนไป
และการผิดลูกเมียผู้อื่นหรือสมัยนี้เรียกว่ามีกิ๊ก
ส่วนการใช้ชีวิตดีหรือเลี้ยงชีพดีได้แก่ อาชีพที่ไม่ใช่การค้าอาวุธ ค้ามนุษย์
ค้าขายชีวิต ค้าขายสุราสิ่งเสพติดสิ่งมึนเมา หรือค้าขายยาพิษ
ความพยายามดี สติดี และสมาธิดี เป็นส่วนของสมาธิในศีล สมาธิ ปัญญา สติดี (Right
Mindfulness) หรือสัมมาสติ
เปรียบได้กับเกราะนอกของจรวดที่ปกป้องส่วนอื่นของมรรคมีองค์ ๘
จากการยั่วยุภายนอก หลายครั้งที่เราตั้งใจดี มีความมุ่งมั่นที่จะทำดีต่อผู้อื่น
ไม่ทำร้ายใคร แต่เมื่อเกิดความโมโห ความโกรธขึ้นมาแล้วมี “สติ” ไม่ทัน
เราก็พลุ่งพล่านแสดงวาจาหรือกิริยาที่ทำร้ายผู้อื่นออกไปจนได้
บางคนตั้งใจมั่นว่าจะลดความตะกละของตนในการรับประทานอาหาร
เห็นผลจากน้ำหนักที่เกินพอดี น้ำตาลในเลือดที่สูงจนแพทย์ให้ควบคุม
แต่ถึงกระนั้นเมื่อพบอาหารโปรด ความอยากก็พุ่งขึ้นมา “สติ”
ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาดีพอ ทำหน้าที่ไม่ทัน นึกได้อีกทีหมดไปสองจานแล้ว
แบบนี้เองที่ “สติ” มีบทบาทสำคัญเสมือน “เกราะ”
ชั้นนอกที่คอยปกป้องการเข้ามากระทบต่อหนทางแห่งความสุขความดีของเรา
จึงไม่น่าแปลกใจที่สมัยนี้เราพบนักบริหารหรือประชาชนทั่วไปมากขึ้นที่ไปฝึกปฏิบั
ติธรรม ฝึกสติ ฝึกภาวนา ฯลฯ ซึ่งจะมีส่วนทำให้เรารู้กายรู้ใจของเราเร็วขึ้น
ทันขึ้น รู้ในปัจจุบันมากขึ้น
สติดีควบคู่ไปกับสมาธิดี หรือสัมมาสมาธิ (Right Concentration)
สติดีแต่ขาดสมาธิที่ดี
ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่ในฐานะตัวปกป้องหรือตัวรู้ทันที่ดี
เพราะไม่ตั้งมั่น ไม่มีแรงพอ
ซึ่งจะเห็นชัดได้เวลามีกิเลสหรือสิ่งยั่วยุที่มีกำลังแรงมากระทบ เช่น
โมโหลูกน้องมากๆ เรื่องแค่นี้ทำไมทำไม่ได้เสียที จะเกิดแรงผลักดันขึ้นมากลางอก
รู้สึกตัวนะ แต่ว่ายั้งไม่อยู่ รู้สึกตัวแผ่วๆ เห็นแล้วว่ากำลังก่อความโกรธ
เพียงแต่กำลังของสมาธิหรือความตั้งมั่นไม่มากพอ เห็นแว้บๆแล้วก็จางไป
กำลังความโกรธแรงกว่า มานึกออกอีกทีก็
ต่อว่าลูกน้องด้วยอารมณ์รุนแรงไปเรียบร้อยแล้ว
ลูกน้องเดินหน้ามุ่ยน้ำตาซึมออกไปจากห้อง
สมาธิเป็นเสาหลักของจรวดที่ยึดโยงหรือสนับสนุนส่วนอื่นๆในมรรคมีองค์ 8
เป็นที่ตั้งมั่นยึดโยงการเลี้ยงชีพดี ทำดี พูดดี คิดดี ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ทำให้การมีสติรู้กายรู้ใจนั้นมั่นคงขึ้น
ไม่อ่อนยวบยาบหรือแปรเปลี่ยนไหวเอนไปตามแรงกระทบจากภายนอกมากนัก
สมาธิที่พวกเราคนทำงานในองค์กรต่างๆมีในการอ่านหนังสือหรือเขียนรายงานแบบนิ่งๆน
ั้น ก็มากพอสำหรับการมองเห็นอารมณ์ความรู้สึกที่ขึ้นมาในช่วงต้นๆอยู่แล้ว
หากใครที่รู้สึกฟุ้งซ่าน ใจวิ่งไปวิ่งมา สมาธิไม่ดี ฟังคนไม่ได้นาน
เดี๋ยวใจก็ลอยไป เดี๋ยวก็คิดนู่นนี่ หรือสวนกลับไม่ได้รู้ตัวเลยนั้น
อาจต้องการการฝึกสมาธิในรูปแบบเพิ่มบ้าง
หรือไม่ก็รู้จักพักผ่อนกายใจในรูปแบบต่างๆที่ทำให้จิตใจเบาลง สงบลง เช่น
การทำสวนด้วยใจสบายๆ ฟังเพลงเบาๆ เล่นโยคะ ออกกำลังกายด้วยใจเป็นสุข ที่สำคัญ คือ
“ความสุข” ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยใกล้ที่ก่อให้เกิดสมาธิได้ง่าย
หากกิจกรรมใดยิ่งทำยิ่งหงุดหงิดไม่สบายใจ
เราอาจเปลี่ยนไปเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเรา เร้าให้เกิดความสุขพอดีๆ
จนมีสมาธิก็ได้
ความพยายามดีหรือความเพียรชอบ หรือสัมมาวายามะ (Right Effort)
คือพลังงานที่ใช้ขับดันจรวดทั้งลำไปสู่จุดมุ่งหมาย
ความพยายามดีนี้เป็นพลังงานที่กระจายเข้าไปในแต่ละส่วนของจรวด
และขับดันจรวดทั้งลำไปสู่ระดับของจิตวิญญาณที่สูงขึ้น ถ้าไม่มีความพยายามที่ดี
จรวดอาจจะไม่ได้ขับเคลื่อนขึ้นไปสูงแต่อาจกลับพุ่งลงต่ำ
หรือตกลงต่ำเพราะแรงโน้มถ่วงของสังสารวัฏ
อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนจรวดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยความเร็วสูงสุด
ขับเคลื่อนเร็วเกินไปอาจทำให้การบรรลุเป้าหมายล่าช้าขึ้นไปอีก
เพราะจรวดร้อนจี๋เกินไป เครื่องน็อก ไม่สมดุล
ในทางกลับกันความพยายามที่หย่อนเกินไปจะไม่สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงของสังสารวั
ฏหรือกิเลสทั้งปวงได้ หากแต่ความพยายามที่ “พอดี” หรือ “สายกลาง”
จึงจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างปลอดภัย
การคิดดีหรือตั้งมั่นดี (Right Thought), การพูดดี (Right Speech), การปฏิบัติดี (Right
Action) และการใช้ชีวิตดี (Right Livelihood) จะได้รับอิทธิพลจากการเห็นดี (Right View),
สติดี (Right Mindfulness), สมาธิดี (Right Concentration) และความพยายามดี (Right Effort)
คุณภาพจากจิตวิญญาณของเราะจะเปลี่ยนไปตามการขับเคลื่อนไปของจรวด
เมื่อพลังงานของความเพียรได้รับการจุดประกายประทุขึ้นมาจากความเห็นดี
วิ่งผ่านและกระตุ้นให้สติดีและสมาธิดีตื่นขึ้น ด้วยสติและสมาธิที่ดี
ทำให้เรามีการพูดดี ทำดี และใช้ชีวิตดี ทุกองค์ประกอบอยู่ในกรอบของการเห็นดี
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทีละนิดทีละหน่อยไปตลอดสายของการเดินทาง
จรวดจะขับเคลื่อนไปในทางที่ถูกที่ดี
ถ้ายังคงมีความเพียรชอบเป็นพลังในการกระตุ้นจรวดให้พ้นไปจากสังสารวัฎ
เราหรือจรวดนี้จะพ้นไปจากสังสารวัฎได้
ถ้าสามารถผลักตัวเองไปไกลพอที่จะหลุดว้าบเข้าไปในอีกโซนที่หลุดจากแรงโน้มถ่วง
การอุปมานี้เทียบกับการบรรลุอรหันต์ ซึ่งอาจไม่ใช่เป้าหมายของคนส่วนใหญ่
หากแม้เราไม่มุ่งไปบรรลุขนาดนั้น แต่หนทางแห่งการไปสู่สุขแท้จริงนี้
ยิ่งไปไกลยิ่งค้นพบความสุขมากขึ้น เป็นการเดินทางที่มีความสุขตลอดสาย
ภาพประกอบ ๑ The Rocket Model for the Noble Eight Constituent Path
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น